หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ ต่อมาตรการป้องกันโรคไข้หวัด 2009
                 จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 แล้วลุกลามขยายวงจนส่งผล
ให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นอันดับ 6 ของโลก สร้างความวิตกกังวลให้กับ
ประชาชนในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูงที่สุดในประเทศ ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ
ต่อมาตรการป้องกันโรคไข้หวัด 2009
”  ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป
ในทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,018 คน เมื่อวันที่ 16-18 กรกฎาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความพึงพอใจต่อมาตรการรับมือกับโรคไข้หวัด 2009 ที่ผ่านมาของรัฐบาลและหน่วยงาน
                 ที่เกี่ยวข้อง พบว่า

 
ร้อยละ
พอใจ
49.5
ไม่พอใจ
       โดยกลุ่มที่ไม่พอใจให้เหตุผลว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด
ที่จริงจังชัดเจน จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน ปิดบังความจริง และ
ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง
50.5

 
             2. ความชัดเจนและเพียงพอของการได้รับทราบข้อมูลความรู้เรื่องโรคไข้หวัด 2009

 
ร้อยละ
ได้รับทราบข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนเพียงพอแล้ว
46.9
ยังไม่ได้รับทราบข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนเพียงพอ
53.1

                       โดยเรื่องที่ต้องการรู้ให้ชัดเจนมากขึ้น คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรค
15.9
ขั้นตอนการรักษาที่ถูกต้อง
14.8
สิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าป่วยเป็นโรค
13.6
วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ
12.4
ตัวเลขสถิติผู้ป่วยและเสียชีวิต
6.9
อื่นๆ อาทิ ค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษา และประสิทธิภาพของ
วัคซีน ฯลฯ
1.2
 
             3. สิ่งที่เป็นห่วงและกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด 2009 ในประเทศไทย คือ

 
ร้อยละ
ห่วงความปลอดภัยของชีวิต
47.9
ผลกระทบเรื่องการเรียน อาชีพการงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
21.4
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
9.6
คุณภาพและมาตรฐานในการตรวจรักษาโรคของสถานพยาบาลต่างๆ
9.2
การฉวยโอกาสทุจริตคอร์รัปชันเงินงบประมาณโครงการรับมือกับโรคไข้หวัด 2009
6.1
การปกปิดตัวเลขข้อมูลความจริง
4.3
อื่นๆ อาทิ ความปลอดภัยของเด็กๆ ฯลฯ
1.5
 
             4. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของ
                 โรคไข้หวัด 2009 ไม่ให้ลุกลามจนถึงขั้นต้องปิดประเทศ

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
       (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นมากร้อยละ 9.5 เชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 27.1)
36.6
ไม่เชื่อมั่น
       (โดยแบ่งเป็นไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 14.3 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 49.1)
63.4
 
             5. สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อรับมือกับ
                 โรคไข้หวัด 2009 ในขณะนี้ คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดให้จริงจังชัดเจนขึ้น
64.9
เร่งจัดหาวัคซีนป้องกันโรคให้เพียงพอ
60.1
ให้บริการรักษาฟรีกับผู้ป่วยโรคไข้หวัด 2009 ทุกคน
55.3
ประสานการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ไปในทิศทางเดียวกัน
37.3
อื่นๆ อาทิ เปิดสายด่วนให้คำปรึกษาเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 และไม่ปิดบัง
ข้อเท็จจริง
3.1
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน
จำนวนทั้งสิ้น 27 เขต ได้แก่ เขตจตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา
บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฏร์บูรณะ ลาดพร้าว
สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม และหลักสี่ จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธี
เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,018 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.1 และเพศหญิงร้อยละ
48.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม
แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 16 – 18 กรกฎาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 กรกฎาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
520
51.1
             หญิง
498
48.9
รวม
1,018
100.0
อายุ:
 
 
             18 ปี – 25 ปี
265
26.0
             26 ปี – 35 ปี
271
26.6
             36 ปี – 45 ปี
251
24.7
             46 ปีขึ้นไป
231
22.7
รวม
1,018
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
718
70.6
             ปริญญาตรี
270
26.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
30
2.9
รวม
1,018
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
69
6.8
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
232
22.8
             ค้าขาย / อาชีพส่วนตัว
330
32.4
             รับจ้างทั่วไป
174
17.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
75
7.4
             อื่นๆ เช่น นักศึกษา อาชีพอิสระ
138
13.5
รวม
1,018
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776